เมนู

[1388] ตั้งแต่ไหนแต่ไรนานมาแล้ว อันภรรยา
ที่มีสามีบ่อย ๆ มิได้มีในตระกูลนี้ ดิฉันอนุวัตร
ตามธรรมเนียมของตระกูลนั้น กำหนดใจไว้
ว่า ขออย่าให้เป็นคนตัดธรรมเนียมของตระกูล
ในภายหลังเลย ดิฉันเกลียดต่อถ้อยคำเช่นนี้
แม้จะไม่มีความพอใจก็ปฏิบัติท่านได้.
[1389] ข้าแต่ท่านมัณฑัพยะ วันนี้ดิฉันพูด
ถ้อยคำที่ไม่ควรจะพูด ขอท่านจงอดโทษถ้อย
คำนั้นให้แก่ดิฉัน เพราะเห็นแก่ลูกเถิด สิ่งอื่น
อะไร ๆ ในโลกนี้ที่จะรักเท่าบุตรมิได้มี ยัญญ-
ทัตตบุตรของเรานี้ก็ได้รอดชีวิตแล้ว.

จบ มัณฑัพยชาดกที่ 6

อรรถกถากัณหทีปายนชาดกที่ 6

1

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สตฺตาหเมวาหํ
ดังนี้ ส่วนเนื้อเรื่องจักมีแจ้งในกุสราชชาดก.
1. บาลี เป็น มัณฑัพยชาดก.

พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระสัน
จริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า ดังนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ เมื่อครั้งพระพุทธเจ้ายังไม่เกิดขึ้น โบราณกบัณฑิตได้บวชในลัทธิ
นอกพุทธศาสนา ไม่มีความยินดี ยังประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้กว่า
50 ปี ไม่แสดงความที่ตนกระสันให้ปรากฏแก่ใคร ๆ เพราะกลัวหิริ-
โอตตัปปะจะทำลายเธอบวชในศาสนาที่จะนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้ ตั้ง
อยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นครูเช่นเรา เหตุไรจึงทำความ
กระสันให้ปรากฏในท่ามกลางบริษัท 4 เหตุไรจึงไม่รักษาหิริโอตตัปปะ
ของตนไว้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า โกสัมพิกะ ครองราช-
สมบัติอยู่ในพระนครโกสัมพีแคว้นวังสะ ครั้งนั้น นิคมแห่งหนึ่ง
มีพราหมณ์สองคนมีสมบัติคนละ 80 โกฏิ เป็นสหายรักกันเห็นโทษ
ในกามคุณให้ทานเป็นการใหญ่ แล้วทั้ง 2 ก็ละกาม ทั้ง ๆ ที่มหาชน
กำลังร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ได้ออกไปสร้างอาศรมบวชอยู่ในถิ่นหิมพานต์
เที่ยวแสวงหาเผือกมันผลไม้เลี้ยงชีพอยู่ 5 ปี ยังไม่สามารถทำฌานให้
เกิดขึ้นได้ ครั้นล่วงไป 50 ปี เพื่อต้องการจะเสพรสเค็มรสเปรี้ยว
จึงเที่ยวไปตามชนบทถึงแคว้นกาสี. ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งในแคว้นกาสี
นั้น ท่านทีปายนดาบสมีสหายคฤหัสถ์อยู่คนหนึ่ง ชื่อมัณฑัพยะ ทั้งสอง
ดาบสได้ไปเยี่ยมเขา เขาเห็นสองดาบสนั้นแล้วก็มีความยินดี สร้าง
บรรณศาลาถวายแล้วบำรุงด้วยปัจจัย 4 สองดาบสอยู่ที่นั้น 3 , 4

พรรษา แล้วลานายมัณฑัพยะ เที่ยวจาริกไปถึงเมืองพาราณสี อาศัย
อยู่ในอธิมุตติกสุสาน ทีปายนดาบสอยู่ ณ ที่นั้นพอควรแก่อัธยาศัย
แล้ว ก็กลับไปสู่สำนักสหายนั้นอีก แต่มัณฑัพยะดาบสยังอยู่ที่ป่าช้า
นั่นเอง.
อยู่มาวันหนึ่ง โจรคนหนึ่งขโมยของภายในเมือง ถือเอาทรัพย์
ออกไป เมื่อเจ้าของเรือนและเจ้าหน้าที่ตื่นขึ้นรู้ว่าขโมย ก็พากันตามจับ
จึงหนีออกทางท่อน้ำ รีบวิ่งเข้าป่าช้าทิ้งห่อทรัพย์ไว้ที่ประตูบรรณศาลา
แห่งพระดาบสแล้วหนีไป พวกมนุษย์ที่ตามจับเห็นห่อทรัพย์เข้าจึงคุก
คามว่า ไอ้ชฎิลร้าย กลางคืนเจ้าเที่ยวขโมยเขา กลางวันทำถือเพศดาบส
อยู่ ทุบตีแล้วจับตัวนำส่งพระราชา พระราชาไม่ทรงพิจารณาก่อน
รับสั่งให้ราชบุรุษเอาตัวไปเสียบหลาวเสีย พวกราชบุรุษนำตัวไปเสียบ
หลาวไม้ตะเคียนที่ป่าช้านั้น เสียบหลาวไม่เข้า จึงเปลี่ยนเอาหลาวไม้
สะเดาเสียบก็ไม่เข้าอีก เอาหลาวเหล็กเสียบก็ไม่เข้า ดาบสจึงใคร่ครวญดู
บุพกรรมของตน ลำดับนั้น ท่านก็เกิดญาณเครื่องระลึกชาติได้ ใช้
ญาณนั้นใคร่ครวญดูก็ได้รู้แล้ว ถามว่า ก็อะไรเป็นบุพกรรมของท่าน
ตอบว่า การเอาหนามไม้ทองหลางเสียบแมลงวัน เป็นบุพกรรม
ของท่าน นัยว่า ในภพก่อนท่านเกิดเป็นบุตรนายช่างไม้ ไปถากไม้กับ
บิดา จับแมลงวันมาตัวหนึ่งแล้วเอาหนามไม้ทองหลางมาเสียบ บาป
กรรมนั้นเองมาถึงเข้า ท่านรู้ตัวว่า ไม่อาจพ้นบาปกรรมนี้ได้ จึงได้

กล่าวกะราชบุรุษว่า ถ้าท่านต้องการจะเอาหลาวเสียบเราจงเอาหลาวไม้
ทองหลาง พวกราชบุรุษก็การทำตามเสียบเข้าแล้วก็วางคนซุ่มรักษาอยู่
แล้วหลีกไป พวกที่ซุ่มรักษาอยู่ได้คอยดูผู้ที่จะมาหาดาบส.
ครั้งนั้น ทีปายนดาบสคิดว่า เราไม่ได้พบสหายนานแล้ว จึงมา
สำนักของท่านมัณฑัพยะดาบส ได้ฟังข่าวในระหว่างทางในวันนั้นเองว่า
มัณฑัพยะดาบสถูกหลาวเสียบ ก็ไป ณ ที่นั้นแล้วยืนอยู่ ส่วน
ข้างหนึ่งถามว่า เพื่อน ! ท่านได้ทำผิดอย่างไรหรือ ? เมื่อดาบสนั้นตอบ
ว่า เราไม่ได้ทำผิด จึงถามว่า ท่านอาจจะรักษาใจตนไม่ให้มีความ
ขุ่นเคืองได้หรือไม่ ? มัณฑัพยะดาบสตอบว่า เพื่อน ! ผู้ที่จับเรามาส่ง
พระราชาเรามิได้มีใจขุ่นเคืองเลยทีปายนดาบสกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น
ร่มเงาของผู้มีศีลเช่นท่านเป็นความสุขสำหรับเรา แล้วเข้าไปนั่งพิง
หลาวอยู่ หยาดโลหิตที่ออกจากตัวมัณฑัพยะดาบสก็หยดลงต้องทีปายน
ดาบส หยาดโลหิตเหล่านั้นหยดลงที่สรีระอันมีสีดุจทอง แห้งดำไปทั้งตัว
ตั้งแต่นั้นมา ท่านจึงได้นามเริ่มต้นว่ากัณหทิปายนะ ท่านนั่งพิงหลาว
นั้นเองตลอดคืนยังรุ่ง วันรุ่งขึ้นพวกคนรักษาจึงไปกราบทูลเหตุการณ์
นั้นแต่พระราชา พระราชาทรงพระดำริว่า เรื่องนี้เราทำลงไปโดยไม่
พิจารณา จึงรีบเสด็จไปที่นั้น แล้วตรัสถามทีปายนดาบสว่า ดูก่อน
บรรพชิต เหตุไรท่านจึงนั่งพิงหลาวอยู่ ? ทีปายนดาบสตอบว่า มหา-
บพิตร อาตมภาพนั่งรักษาดาบสนี้อยู่ ก็มหาบพิตรทรงทราบแล้วหรือ
ว่าดาบสนี้ทำผิดหรือไม่ได้ทำผิด จึงได้ลงพระราชอาญาอย่างนี้ พระราชา

ตรัสบอกว่าลงโทษไปโดยไม่พิจารณา พระดาบสจึงกล่าวแก่พระราชาว่า
มหาบพิตร ธรรมดาพระราชาควรจะพิจารณาก่อนแล้วจึงการทำดังนี้
แล้วแสดงธรรมว่า คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ถ้าเป็นคนเกียจคร้านแล้ว
ไม่ดีดังนี้เป็นต้น.
พระราชาทรงทราบว่า มัณฑัพยะดาบสไม่มีความผิดจึงรับสั่งให้
ถอนหลาวออก พวกราชบุรุษไม่สามารถจะถอนหลาวออกได้ มัณฑัพยะ
กราบทูลพระราชาว่า มหาบพิตร อาตมภาพถึงความพินาศย่อยยับ
อย่างนี้ด้วยอำนาจกรรมที่ได้ทำไว้แต่ปางก่อน ไม่มีใครอาจถอนหลาว
ออกจากตัวอาตมภาพได้ ถ้าพระองค์มีพระราชประสงค์จะพระราชทาน
ชีวิตแก่อาตมภาพไซร้ ก็จงโปรดให้เอาเลื่อยมาตัดหลาวนี้ให้เสมอหนัง
พระราชารับสั่งให้การทำตามนั้น ภายในร่างกายได้มีหลาวอยู่ภายใน
เรื่อยมา.
ได้ยินว่า ครั้งนั้น ดาบสนั้นเอาหนามทองหลางเรียว ๆ เสียบ
ก้นแมลงวัน หนามทองหลางติดอยู่ในตัวแมลงวัน แต่แมลงวันไม่
ตายเพราะถูกเสียบ ตายเมื่อหมดอายุของตน ฉะนั้น ดาบสนี้จึงไม่
ตาย พระราชาทรงนมัสการพระดาบสทั้งสองให้ขมาโทษแล้ว นิมนต์
ให้อยู่ในพระราชอุทยาน ทรงบำรุงแล้ว ตั้งแต่นั้นมามัณฑัพยะดาบส
ได้ชื่อเติมหน้าว่า อาณิมัณฑัพยะท่านอาศัยพระราชาอยู่ในพระราช-

อุทยานนั้น ส่วนทีปายนดาบสรักษาแผลมัณฑัพยดาบสหายดีแล้ว ไป
สำนักนายมัณฑัพยะผู้เป็นสหายคฤหัสถ์ของตน.
บุรุษผู้หนึ่งเห็นทีปายนดาบสนั้นเข้าไปสู่บรรณศาลา จึงบอกแก่
นายมัณฑัพยะผู้เป็นสหาย นายมัณฑัพยะนั้นได้ฟังข่าวก็ยินดี พาบุตร
ภรรยาถือเครื่องสักการะมีของหอมดอกไม้และเครื่องลูบไล้เป็นต้น เป็น
อันมากไปสู่บรรณศาลา ไหว้ทีปายนดาบสแล้ว ล้างเท้าทาน้ำมันให้
ถวายน้ำปานะให้ดื่มแล้วนั่งฟังข่าวอาณิมัณฑัพยะดาบส ครั้งนั้นบุตรของ
เขาชื่อยัญญทัตตกุมารเล่นลูกข่างอยู่ในที่สุดที่จงกรม ก็ที่จอมปลวกแห่ง
หนึ่งใกล้บรรณศาลานั้น มีอสรพิษตัวหนึ่งอาศัยอยู่ลูกข่างที่กุมารปา
เหนือพื้นดินได้เข้าไปตกถูกศีรษะอสรพิษในโพรงจอมปลวก กุมารนั้น
ไม่รู้จึงเอามือล้วงเข้าไปในโพรง ครานั้นอสรพิษเดือดดาลเขาจึงกัด
เอามือ เขาสลบล้มลง ณ ที่นั้นด้วยกำลังอสรพิษ ลำดับนั้น มารดา
บิดารู้ว่าลูกถูกอสรพิษกัดจึงยกกุมารขึ้นแล้วอุ้มมาที่พระดาบสให้นอนลง
แทบเท้าแล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ธรรมดาบรรพชิตย่อมจะรู้โอสถหรือ
ปริต ขอท่านได้โปรดทำบุตรของข้าพเจ้าให้หายโรคเถิด พระดาบส
กล่าวว่า เราไม่รู้โอสถ เราเป็นบรรพชิตจักทำเวชกรรมไม่ได้ พระดาบส
ถูกเขาขอร้องว่า ถ้าเช่นนั้น ขอท่านได้ตั้งเมตตาในกุมารทำสัตยาธิษฐาน
เถิด จึงรับว่า ดีแล้วเราจักทำสัจกิริยาแล้ววางมือลงที่ศีรษะยัญญทัตต-
กุมาร จึงได้กล่าวคาถาที่ 1 ว่า :-

เราเป็นผู้มีความต้องการบุญ ได้มีจิต
เลื่อมใสประพฤติพรหมจรรย์อยู่เพียง 7 วัน
เท่านั้น ต่อจากนั้นมา แม้เราจะไม่มีความใคร่
บรรพชา ก็ทานประพฤติพรหมจรรย์ของเราอยู่
รู้ถึง 50 กว่าปี ด้วยความสัตย์อันนี้ ขอความ
สวัสดีจงมีแก่ยัญญทัตตกุมาร พิษจงคลายออก
ยัญญทัตตกุมารจงรอดชีวิตเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อถาปรํ ยํ จริตํ ความว่า
เพราะฉะนั้น ต่อจาก 7 วันนั้นมาแม้เราจะได้มีความใคร่ ก็ทนประพฤติ
พรหมจรรย์ของเราอยู่ได้. บทว่า อากามโก วาปิ คือไม่ปรารถนา
บรรพชาเลย. บทว่า เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ความว่า ถ้าว่า
ความที่แห่งใคร ๆ เป็นผู้อันเราผู้ทนอยู่ด้วยความไม่พอใจถึง 50 กว่าปี
ไม่บอกแล้วเป็นสัจจะไซร้ ด้วยความสัตย์นั้น ขอความสวัสดีจงมีแก่
ยัญญทัตตกุมาร ขอยัญญทัตตกุมารจงกลับได้ชีวิตเถิด.
พร้อมกับสัจกิริยา พิษในกายตอนบนของยัญญทัตตกุมารก็ตกเข้า
แผ่นดินหมด กุมารลืมนัยน์ตาขึ้นดูมารดาบิดาเรียกว่า แม่ แล้วพลิกนอน.
ลำดับนั้น กัณหทีปายนดาบสจึงกล่าวกะบิดาของกุมารนั้นว่า กำลังของ
เรา เราทำได้เท่านั้น ท่านจงทำกำลังของตนบ้างเถิด เขากล่าวว่า

เราจักทำสัจกิริยาบ้าง แล้ววางมือลงที่หน้าอกบุตร จึงได้กล่าวคาถา
ที่ 2 ว่า :-
เพราะเหตุที่เราเห็นแขกในเวลาที่มาถึง
บ้านเพื่อจะพักอยู่ บางครั้งไม่พอใจจะให้พัก
เลย แม้สมณพราหมณ์ผู้เป็นพหูสูต ก็ไม่ทราบ
ความไม่พอใจของเรา แม้เราไม่ประสงค์จะให้
ก็ให้ได้ ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมี
แก่ยัญญทัตตกุมาร พิษจงคลายออก ยัญญทัตต
กุมารจงรอดชีวิตเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาสกาเล คือในเวลาที่แขกมาถึง
บ้านเพื่อต้องการจะพักอยู่. บทว่า น จาปิ เม อปฺปิยตํ อเวทุํ
ความว่า ก็แม้สมณพราหมณ์ที่เป็นพหูสูตก็ไม่ทราบเหตุ. คืออาการอัน
ไม่เป็นที่พอใจนี้ของเราว่า ผู้นี้ไม่พอใจจะให้ ผู้นี้ไม่พอใจพวกเรา
ด้วยคำนี้บิดาของกุมารย่อมแสดงว่า เราคงแลดูด้วยสายตาอันแสดง
ความรักอยู่. บทว่า เอเตน สจฺเจน อธิบายว่า ถ้าเราแม้ให้ทาน
ก็ไม่เธอผลของทานให้ด้วยความไม่พอใจของตน และชนเหล่าอื่นก็ไม่
ทราบเหตุคืออาการอันไม่เป็นที่พอใจของเราไซร้ ด้วยความสัตย์นี้ ขอ
ความสวัสดีจงมีแก่ยัญญทัตตกุมารเถิด.

เมื่อบิดาทำสัจกิริยาอย่างนี้แล้ว พิษในกายตอนเหนือสะเอวก็ตก
เข้าแผ่นดิน กุมารลุกขึ้นนั่งได้แต่ยังยืนไม่ได้ ลำดับนั้น บิดาได้กล่าว
กะมารดาของกุมารนั้นว่า ที่รัก เราได้ทำกำลังของเราแล้ว ทีนี้เจ้าจง
ทำสัจกิริยาให้บุตรลุกขึ้นเดินได้ มารดากล่าวว่า ข้าแต่นายความสัตย์ของ
ฉันก็มีอยู่อย่างหนึ่งแต่ไม่อาจกล่าวต่อหน้านาย บิดากล่าวว่า อย่างไร ๆ
ก็กล่าวไปเถอะที่รัก จงทำบุตรของเราให้หายโรค นางรับคำว่า ดีแล้ว
เมื่อกระทำสัจกิริยา จึงได้กล่าวคาถาที่ 3 ว่า :-
ลูกรัก อสรพิษที่ออกจากโพรงกัดเจ้า
นั้นมีเดชมาก ไม่เป็นที่รักของแม่ในวันนี้เลย
อสรพิษนั้นกับบิดาของเจ้า ไม่แปลกกันเลย
ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่
ยัญญทัตตกุมาร พิษจงคลายออก ยัญญทัตต
กุมารจงรอดชีวิตเถิด.

มารดาร้องเรียกบุตรว่า ตาต ในคาถานั้น.
บทว่า ปหูตเตโช คือมีพิษกล้า. บทว่า พิฬารา คือจากช่อง.
อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า อุทฺธจฺจ คือออกแล้ว
อธิบายว่า เลื้อยขึ้นมาจากโพรงจอมปลวก. บทว่า ปิตรญฺจ เต คือ
ในบิดาของเจ้าถึงในอรรถกถา บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.

ข้อนี้มีอธิบายว่า แน่ะลูกยัญญทัตต อสรพิษนั้นก็ไม่แปลกอะไร
กับบิดาของเจ้า โดยไม่เป็นที่รักของแม่เลยเหมือนกัน ก็แหละเว้นความ
ไม่เป็นที่รักนั้นเสีย ความแปลกอะไรที่แม่เคยให้เจ้ารู้ย่อมไม่มีในวันนี้
ถ้าข้อนี้เป็นความสัตย์ไซร้ ด้วยความสัตย์อันนี้ขอความสวัสดีจงมีแก่เจ้า
เถิด.
พร้อมกับสัจกิริยา พิษทั้งหมดก็ตกลงเข้าแผ่นดิน ยัญญทัตตเมื่อ
ร่างกายหมดพิษแล้วลุกขึ้นเริ่มจะเล่นต่อไป เมื่อบุตรลุกขึ้นได้แล้ว
อย่างนี้ นายมัณฑัพยะเมื่อถามถึงอัธยาศัยของทีปายนดาบส จึงได้กล่าว
นักพรตทั้งหลายเป็นผู้สงบระงับ ฝึก
ฝนตนแล้ว ย่อมเว้นรอบนอกจากท่านกัณหะ
แล้วที่จะเป็นผู้ทนฝืนใจประพฤติพรหมจรรย์
ไม่มีเลย ดูก่อนท่านทีปายนะ ท่านเกลียดชัง
อะไร ? จึงสู้ฝืนใจประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้.

พึงทราบความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า
อิสรชนทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้น เหล่าใดเหล่าหนึ่งละกามเสีย
แล้วจึงบวชในโลกนี้ ชนเหล่านั้น นอกจากท่านกัณหะ คือชนเหล่าอื่น
เว้นท่านกัณหะผู้เจริญ ที่ชื่อว่าจะเป็นผู้ทนฝืนใจประพฤติพรหมจรรย์

ย่อมไม่มีก็ท่านเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้สงบเพราะระงับกิเลสด้วย
ฌานภาวนา ชื่อว่าเป็นผู้ฝึกแล้ว เพราะฝึกจักษุทวารเป็นต้นให้พ้นจาก
พยศหมดพิษ ยินดียิ่งแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ ท่านทีปายนะ
ผู้เจริญ ก็ท่านเกลียดชังความชั่วเพราะเหตุอะไร จึงสู้ฝืนใจประพฤติ-
พรหมจรรย์อยู่ได้ ทำไมจึงไม่สึกมาครองเรือนเล่า ?
เมื่อพระดาบสจะบอกเรื่องราวแก่เขา จึงได้กล่าวคาถาที่ 5 ว่า :-
บุคคลออกบวชด้วยศรัทธาแล้ว กลับเข้า
บ้านอีก เป็นคนเหลวไหล เป็นคนกลับกลอก
เราเกลียดต่อถ้อยคำเช่นนี้ จึงสู้ฝืนใจประพฤติ
พรหมจรรย์อยู่นี้เป็นฐานะที่วิญญูชนสรรเสริญ
และเป็นฐานะของสัตบุรุษทั้งหลาย เราเป็นผู้
กระทำบุญด้วยประการฉะนี้.

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งคำเป็นคาถานั้นว่า :-
เราเกลียดถ้อยคำเช่นนี้ว่า บุคคลเชื่อกรรมอันคำและผลแห่ง
กรรม ละสมบัติเป็นอันมากออกบวชแล้วกลับมาเพื่อสิ่งที่ตนละอีก บุคคล
นี้นั้นเป็นคนเหลวไหลหนอ เป็นคนกลับกลอกเหมือนเด็กชาวบ้านหนอ
แม้จะไม่ปรารถนาเพราะกลัวหิริและโอตตัปปะของตนจะทำลาย ก็ต้อง
ทนประพฤติพรหมจรรย์ไป ก็ธรรมดาว่าบรรพชาและบุญนั้นแม้นิด

หน่อย ก็เป็นฐานะที่วิญญูชนทั้งหลาย คือบัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้า
เป็นต้นสรรเสริญอย่างยิ่ง และเป็นฐานะที่อยู่ของสัตบุรุษทั้งหลายเหล่า
นั้น เราเป็นผู้กระทำบุญด้วยประการฉะนี้ คือด้วยเหตุแม้นี้ แม้จะ
ร้องไห้จนน้ำตานองหน้า ก็ฝืนใจประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้.
พระดาบสครั้นบอกอัธยาศัยของตนอย่างนี้แล้ว เมื่อจะย้อนถาม
นายมัณฑัพยะ จึงได้กล่าวคาถาที่ 6 ว่า :-
ท่านเลี้ยงดูสมณพราหมณ์ และคนเดิน
ทาง ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำและภิกษา-
หาร เรือนของท่านนี้บริบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำ
เป็นเหมือนบ่อน้ำ เออ ก็ท่านเกลียดต่อถ้อยคำ
อะไรแม้ไม่ประสงค์ก็ให้ทานนี้ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขํ คือให้ภิกษาหารอย่างอุดม
สมบูรณ์แก่สมณพราหมณ์และคนเดินทางทั้งหลายผู้เที่ยวไปอยู่. บทว่า
โอปานภูตํว คือเหมือนบ่อน้ำสาธารณะซึ่งเขาขุดไว้ในทางหลวง 4
แพร่ง.
ลำดับนั้น นายมัญฑัพยะเมื่อจะบอกอัธยาศัยของตน จึงกล่าว
คาถาที่ 7 ว่า :-
บิดา มารดาและ ปู่ ย่า ตา ยาย ของเรา
เป็นคนมีศรัทธาเป็นทานบดี รู้หลักนักปราชญ์

เราอนุวัตรตามธรรมเนียมของตระกูลนั้น กำ
หนดใจไว้ว่า อย่าได้เป็นคนตัดธรรมเนียม
แห่งตระกูลภายหลัง เราเกลียดถ้อยคำเช่นนี้
แม้ไม่ประสงค์ก็ให้ทานนี้ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสุํ สัมพันธ์กับ บทว่า สทฺธา
นี้ อธิบายว่า ได้เป็นผู้มีศรัทธาแล้ว. บทว่า อหุ เป็นต้น ความว่า
เป็นผู้มีศรัทธายิ่งกว่านั้น ยิ่งเป็นใหญ่ในทานด้วย เป็นผู้ส่องเนื้อความ
แห่งคำที่ท่านกล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงกล่าว จงกระทำดังนี้ให้แจ่มแจ้ง
ด้วย. บทว่า ตํ กูลวตฺตํ คือตามธรรมเนียมของตระกูลนั้น ถึงใน
อรรถกถาก็มีบาลีอย่างนี้ เหมือนกัน. บาทคาถาว่า มาหํ กุเล อนฺติม-
คนฺธิโน อหุํ
ความว่า นายมัณฑัพยะแสดงว่า เรากำหนดใจไว้ว่า
ขอเราอย่าได้เป็นคนสุดท้ายเขาทั้งหมดในตระกูลของตนด้วย อย่าได้เป็น
คนตัดธรรมเนียมแห่งตระกูลด้วยดังนี้ เกลียดวาทะว่าเป็นคนตัดธรรม-
เนียมแห่งตระกูลภายหลังนั้น แม้ไม่ประสงค์เลย ก็ให้ทานนี้ได้.
ก็แหละ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว นายมันฑัพยะเมื่อจะถาม
ภรรยาของตน จึงได้กล่าวคาถาที่ 8 ว่า :-
ดูก่อนนางผู้มีร่างกายงาม เรานำเจ้าผู้ยัง
เป็นสาวรุ่น มีปัญญายังไม่สามารถ มาแต่

ตระกูลญาติ แม้เจ้าก็ยังไม่เคยแสดงความไม่
รักใคร่เรา เจ้าไม่มีความรักใคร่ปฏิบัติเราอยู่
เออ ก็นางผู้เจริญการที่เจ้าอยู่ร่วมกับเราเห็น
ปานนี้ได้ เพราะเหตุอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสมตฺถปญฺญํ คือผู้ยังเป็นยาว
น้อย ๆ มีปัญญายังไม่สามารถที่จะจับจ่าย. คำว่า ยนฺตานยึ ตัดบทเป็น
ยํ ตํ อานยึ มีอธิบายว่า เรานำเจ้าผู้ยังเป็นยาวรุ่นมาจากตระกูล
แห่งญาติ. บทว่า อญฺญตฺร กามา ปริจารยนฺตา ความว่า เจ้าไม่
มีความรักใคร่ แม้ปฏิบัติเราอยู่ด้วยความไม่เต็มใจก็ไม่ให้เรารู้ว่าตนไม่
มีความรักตลอดกาลประมาณเท่านี้ คือแสดงความรักใคร่ปรนนิบัติเรา
แล้ว. บทว่า เกนวณฺเณน แปลว่า ด้วยเหตุอะไร นายมัณฑัพยะ
ร้องเรียกภรรยาว่านางผู้เจริญ. บทว่า เอวรูโป ความว่า การที่เจ้า
อยู่ร่วมกับเราผู้มีความปฏิกูลเสมอด้วยอสรพิษเห็นปานนี้อยู่ได้ คือเป็น
ดุจว่าอยู่ร่วมกับคนที่รักได้อย่างไร ?
ลำดับนั้น เมื่อภรรยาจะบอกแก่สามี จึงได้กล่าวคาถาที่ 9 ว่า :-
ตั้งแต่ไหนแต่ไรนานมาแล้ว อันภรรยา
ที่มีสามีบ่อย ๆ มิได้มีในตระกูลนี้ ดิฉันอนุวัตร
ตามธรรมเนียมของตระกูลนั้น กำหนดใจไว้

ว่า ขออย่าให้เป็นคนตัดธรรมเนียมของตระกูล
ในภายหลังเลย ดิฉันเกลียดต่อถ้อยคำเช่นนี้
แม้จะไม่มีความพอใจก็ปฏิบัติท่านได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารา ทูเร เป็นไวพจน์ของ
กันและกัน นางเมื่อจะแสดงธรรมเนียมนั้นว่า นานมาก จึงกล่าว
อย่างนี้. ศัพท์ว่า อิธ เป็นเพียงนิบาต ความว่า ในกาลไหน ๆ ก็ไม่มี
บทว่า ปรํปรา คือที่เปลี่ยนผู้ชายบ่อย ๆ.
ข้อนี้มีอรรถกถาธิบายว่า นาย ตั้งแต่ไหนแต่ไรนานมาแล้ว
จนกระทั่งถึง 7 ชั่วตระกูล อันภรรยาที่มีสามีบ่อย ๆ มิได้มีในตระกูล
แห่งญาติของดิฉันเลย แม้หญิงบางคนจะทั้งกะสามีแล้วก็ไม่เคยที่จะคว้า
เอาชายอื่นมาเป็นสามีเลย. บทว่า ตํ กูลวตฺตํ ดิฉันเมื่อจะอนุวัตร
ตามธรรมเนียมของตระกูล คือตามประเพณีของตระกูลนั้น กำหนดใจ
ไว้ว่า ขอเราอย่าพึงเป็นหญิงกลับกลอกคนสุดท้ายในตระกูลของตนเถิด
เกลียดวาทะว่า เป็นหญิงตัดธรรมเนียมของตระกูลคนสุดท้ายในตระกูล
นั้น แม้จะไม่มีความพอใจก็ปฏิบัติ ท่านได้ คือเป็นผู้ทำความขวนขวาย
เป็นผู้บำเรอใกล้เท้าท่านได้.
ครั้นนางได้กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงคิดว่าความลับที่ไม่ควรจะกล่าว
ต่อหน้าสามี เราได้กล่าวแล้วเขาคงโกรธเรา เราจะขอโทษเขา ต่อหน้า

พระดาบสผู้เข้าถึงตระกูลของเรา เมื่อจะให้สามีอดโทษ จึงได้กล่าวคาถา
ที่ 10 ว่า :-
ข้าแต่ท่านมัณฑัพยะ. วันนี้ดิฉันพูด
ถ้อยคำที่ไม่ควรจะพูด ขอท่านจงอดโทษถ้อย
คำนั้นให้แก่ดิฉัน เพราะเห็นแก่ลูกเถิด สิ่งอื่น
อะไร ๆ ในโลกนี้ที่จะรักเท่าบุตรมิได้มี ยัญญ
ทัตตบุตรของเรานี้ก็ได้รอดชีวิตแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ ขมตํ แปลว่า จงอดโทษ
ถ้อยคำนั้น. บทว่า ปุตฺตเหตุ มมชฺช ความว่า ขอท่านจงอดโทษ
ถ้อยคำที่ฉันพูดแล้วนั้น เพราะเหตุแห่งบุตรนี้ในวันนี้เถิด. บทว่า
โส โน อยํ ความว่า ฉันพูดคำนั้นเพราะเหตุแห่งบุตรคนใด บุตร
ของเราคนนั้นก็ได้รอดชีวิตแล้ว เพราะบุตรคนนี้รอดชีวิตแล้วนั่นแหละ
ขอท่านจงอดโทษแก่ดิฉัน ตั้งแต่วันนี้ไปดิฉันจักเป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจ
ของท่าน.
ลำดับนั้น นายมัณฑัพยะได้กล่าวกะภรรยาว่า ลุกขึ้นเถิด ที่รัก
เราอดโทษให้เจ้า ตั้งแต่นี้ไปเจ้าอย่าได้มีจิตกระด้าง แม้เราก็จะไม่เกลียด
เจ้า พระดาบสโพธิสัตว์กล่าวกะนายมัณฑัพยะว่า อาวุโส การที่ท่าน
หาทรัพย์ได้มาโดยลำบาก แล้วบริจาคทานโดยไม่เชื่อกรรมและผลแห่ง

กรรมนั้นเป็นการไม่สมควร แต่นี้ไปท่านจงเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม
ให้ทานเถิด นายมัณฑัพยะรับคำว่า ดีแล้ว แล้วกล่าวกะพระดาบส
โพธิสัตว์ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านดำรงอยู่ในความเป็นทักขิไณยบุคคลของ
ข้าพเจ้าไม่มีความยินดี ประพฤติพรหมจรรย์เป็นการไม่สมควร ตั้งแต่
นี้ไปขอท่านจงทำจิตให้เลื่อมใส มีจิตบริสุทธิ์ ยินดีในฌาน ประพฤติ
พรหมจรรย์โดยลักษณะที่ข้าพเจ้าทำสักการะแก่ท่านในบัดนี้แล้ว จะได้
รับผลมากเถิด แล้วสองสามีภรรยาก็นมัสการพระมหาสัตว์ แล้วลุกจาก
อาสนะไป ตั้งแต่นั้นมาภรรยาก็มีความเสน่หาในสามีเป็นอย่างดี นาย
มัณฑัพยะก็มีจิตเลื่อมใสถวายทานด้วยศรัทธา พระโพธิสัตว์ก็บรรเทา
ความเบื่อหน่ายเสียได้ ทำฌานและอภิญญา ให้เกิดแล้วเป็นสิ่งมีพรหมโลก
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง-
ประกาศสัจธรรมเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสัน ได้ดำรงอยู่ในโสดา-
ปัตติผล พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า นายมัณฑัพยะในครั้งนั้น ได้มา
เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ภรรยาในครั้งนั้น ได้มาเป็นนางวิสาขาใน
บัดนี้ บุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระราหุลในบัดนี้ อาณิมัณฑัพยะ
ดาบส ได้มาเป็นพระสารีบุตรในบัดนี้ ส่วนกัณหทีปายนดาบสในครั้ง
นั้น คือเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถากัณหทีปายชาดกที่ 6

7. นิโครธชาดก



ว่าด้วยการคบหากับคนดี



[1390] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านิโครธ
ท่านสาขะเสนาบดีพูดว่า เราไม่รู้จักคนนี้เลยว่า
เป็นใครกัน หรือเป็นเพื่อนของใคร พระองค์
จะทรงเข้าพระทัยอย่างไร.
[1391] ลำดับนั้น บุรุษผู้ทำตามคำของท่านสาขะ
เสนาบดีเข้าจับคอ ตบหน้าข้าพระองค์ขับไส
ออกไป.
[1392] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชานิกร
ธรรมอันไม่ประเสริฐเช่นนี้. อันท่านสาขะเสนา-
บดีผู้เป็นเพื่อนเก่าของพระองค์ เป็นคนมีความ
คิดทราม เป็นคนอกตัญญูประทุษร้ายมิตร ได้
กระทำแล้ว.
[1393] ดูก่อนสหาย เรื่องนี้เราไม่รู้เลย แม้ใคร ๆ
ก็มิได้บอกเรา ท่านมาบอกเราแล้วว่า ท่าน
สาขะเสนาบดีฉุดคร่าท่าน.